มาวิ่งเทรลกันมั้ย?
ผลกระทบของโรคระบาดใหญ่โควิด-19 ในปี 2020 ทำให้การจัดแข่งขันกีฬาทั้งหมดต้องถูกระงับหรือเลื่อนออกไปจนนักวิ่งเทรลบางคนอาจหมดไฟ แต่การวิ่งเทรลนั้นไม่ใช่แค่แข่งขัน แก่นแท้ของมันคือการได้สนุกกับการวิ่งต่างหาก และการวิ่งที่สนุกๆสุดๆคือวิ่งเทรลแถบเทือกเขา
ปาโกเวิร์คส์จึงสร้างเป้หลังในซีรีส์ RUSH ให้เป็นของที่นักวิ่งขาดไม่ได้ในปัจจุบัน แต่จุดกำเนิดของเป้ในซีรีส์นี้คือเพื่อวิ่งให้สนุกสนาน ใช่เลย RUSH คือเป้ที่จะทำให้ทุกคนวิ่งได้สนุกขึ้น และเดี๋ยวนี้ปาโกเวิร์คส์ได้หวนกลับไปยังต้นกำเนิดเดิม คือการวิ่งบนเขาซึ่งถือได้ว่าสนุกที่สุด เป็นที่สุดแล้วของการวิ่ง
นักวิ่งสาวญี่ปุ่นชื่อชิโอริ ซูซุกิและนัตสึมิ ยามาอุชิที่ใช้ RUSH ตอบรับคำขอของปาโกเวิร์คทันที ทั้งคู่คือนักกีฬาวิ่งเทรลที่เข้าแข่งขันและวิ่งเพื่อความสนุกมาตลอด และแน่นอนว่าทั้งคู่คือแฟนพันธุ์แท้ของ RUSH
ซูซุกิ กับ ยามาอุชิ
ชิโอริ ซูซุกิ
ชิโอริเล่นกีฬาจริงจังมาตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับอิทธิพลจากพ่อผู้เป็นนักวิ่งที่ชวนเธอมาวิ่งด้วย จนต่อมาได้เข้าร่วมวิ่งเทรลในที่ต่างๆทั่วโลก ไม่เพียงแค่ไปแข่งขันเพื่อทำเวลาเท่านั้นชิโอริยังได้เพลิดเพลินไปกับทิวทัศน์ในเส้นทาง ได้ช่วยเหลือและพูดคุยกับเพื่อนนักวิ่งอื่นๆด้วย
นัทสึมิ ยามาอุชิ
นัทสึมิเป็นนักโดดแทรมโพลีนแข่งเมื่อยังศึกษาในมหาวิทยาลัย ชอบการวิ่งเทรลจากการได้ไปวิ่งซ้อมแถบเทือกเขา นอกจากนี้นัทสึมิยังมีแชนเนลของตัวเองในยูทูบด้วย เพื่อแบ่งปันความสนุกสนานในการวิ่งกับทุกคนที่สนใจ
วิ่งเทรลในฮาโกเนะ โซโตวายามะ
ครั้งนี้ทั้งคู่ไปวิ่งในเส้นทางยอดนิยมชื่อฮาโกเนะ โซโตวายามะ บริเวณที่มีรีสอร์ทน้ำพุร้อนเลื่องชื่อของญี่ปุ่น โดยสามารถเริ่มวิ่งในเทรลที่มีเชื่อมถึงตัวเมืองได้เลย เส้นทางที่มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่เทือกเขาฮาโกเนะเพิ่งเริ่มเป็นรูปเป็นร่างจากหินลาวาที่เย็นตัวนี้ มีระยะทางยาว 50 กิโลเมตรวนรอบ ทั้งคู่เลือกใช้เส้นทางที่วิ่งได้สนุกยาว 14 ก.ม.อันเป็นระยะทางกำลังพอดีสำหรับนักวิ่งเทรลมือใหม่และที่มีประสบการณ์
เทรลนี้มีจุดเริ่มต้นที่ลานจอดรถของวิหารคินโตกิ แล้วลัดเลาะไปในตัวเมืองจนมาถึงจุดสุดท้ายที่ทุ่งเซ็นโกกุฮาระ ซูซุคิโนะซึ่งมีทางวิ่งขนานไปกับแม่น้ำ ทั้งคู่วิ่งขึ้นเขาไปจากที่ลุ่มเซ็นโกกุฮาระไปยังช่องเขานางาโนะจนถึงสันเขาโซโตวายามะ แล้ววิ่งขึ้นเหนือไปบนสันเขาโซโตวะจนถึงหอดูดาวที่ฟูจิมิดาอิ ต่อไปจนถึงยอด พักกินอาหารกลางวันที่คินทาโระ ชายะ ก่อนจะวิ่งกลับลงสู่จุดเริ่มต้นคือลานจอดรถของวิหารคินโตกิ
บทความนี้เป็นการบอกเล่าตามเวลาจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพการวิ่งของชิโอริกับนัทสึมิได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ไปวิ่งให้สนุกกันเถอะ!
ช่วงที่ 1 : จุดเริ่มต้นที่ลานจอดรถของวิหารคินโตกิ สู่ช่องเขานางาโอะ
8.20 น. ลานจอดรถวิหารคินโตกิ
เราเริ่มวิ่งจากจุดนี้เข้าตัวเมืองใต้ผ้าครึ้ม บริเวณตัวเมืองอากาศดีแต่ก็เห็นเมฆลอยปกคลุมเทือกเขาโซโตวายามะ จากการพยากรณ์คือช่วงบ่ายอากาศจะแจ่มใส เมื่อวิ่งถึงช่องเขานางาโอะเราจึงคิดไว้ว่าเมฆที่เห็นอยู่นั่นจะจางไป
8.45 ทุ่งเซ็นโกกุฮาระ ซูซุคิโนะ
เราวิ่งมาถึงทุ่งเซ็นโกกุฮาระ ซูซุคิโนะที่เป็นจุดพักก่อนจะวิ่งตามทางอันคดเคี้ยวสู่จุดต่อไป ครั้งนี้เรามาวิ่งกันเพื่อความสนุกจริงๆจึงไม่ต้องกังวลเรื่องเวลา อยากหยุดตรงไหนก็หยุด ตรงนี้เองที่เป็นความสนุกของการวิ่งแบบ Fun Run
วิ่งย้อนกลับไปนิดหน่อยแล้วเข้าเส้นทางมุ่งสู่โซโตวายามะ จากตรงนี้เราวิ่งได้สบายๆในแบบเทรลที่มีเส้นทางขึ้นๆลงๆไม่มากพอตึงๆขา มีลำธารสวยเส้นหนึ่งไหลผ่านกับมีสะพานที่มีวิวสวย จึงมีธรรมชาติอันงดงามให้ได้เห็นมากมายตั้งแต่เริ่มวิ่งแล้ว
ช่วงที่ 2 : เริ่มต้นที่ช่องเขานางาโอะ
9.27 : บึงเซ็นโกกุฮาระ จุดเริ่มเส้นทางเดินป่า
เทือกเขาโซโตวายามะที่สูงตระหง่านอยู่ตรงหน้าคือจุดเริ่มต้นช่วงที่สอง จากตรงนี้เราต้องวิ่งไต่ระดับขึ้นไปอีก 200 เมตรสู่ช่องเขานางาโอะ
9.50 : ช่องเขานางาโอะ
ถ้าขับรถไปตามเส้นทางนี้ที่มีอุโมงค์ต้นไม้เขียวครึ้ม ไม่นานก็จะถึงช่องเขานางาโอะ ถ้าใครเคยขับรถแล้วเราขอแนะนำให้ลองวิ่งตามเส้นทางนี้อีกครั้ง
เมื่อมาถึงชายป่าจะเห็นทะเลสาบอาชิอยู่เบื้องล่าง และยังเห็นสันเขาโซโตวายามะซึ่งโอบล้อมทะเลสาบแห่งนี้ไว้ ซึ่งจะทำให้รู้สึกได้ว่าเราได้วิ่งมาถึงจุดหมายปลายทางหนึ่งแล้ว
10.14: ฟูจิมิดาอิ
มาถึงฟูจิมิดาอิแล้วพักผ่อน เติมพลังให้ตัวเองด้วยอาหารที่นำติดมา เมื่อวิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆจะฝ่าเข้าไปในหมู่เมฆและอุณหภูมิจะต่ำลงอย่างรู้สึกได้ชัด สภาพอากาศจะไม่ค่อยคงที่นักรวมทั้งระดับความสูงของเส้นทางที่จะขึ้นๆลงๆ การวิ่งจะสะดวกสบายขึ้นได้ด้วยการปรับความพอดีของสายเป้ ดื่มน้ำไปตลอดทาง
จากจุดนี้ไปสู่ภูเขาอาชิงาระถือเป็นเส้นทางวิ่งที่สนุกที่สุด ในการวิ่งไปตามสันเขาโซโตวะ
ช่วงที่ 3 : ฟูจิมิดาอิ - ภูเขาอาชิงาระ
เส้นทางจากฟูจิมิดาอิไปยังมารุดาเกะ และช่องเขาโอโตเมะถือว่าเป็นช่วงที่สวยที่สุด นักวิ่งทั้งสองยิ้มแย้มแจ่มใสตั้งแต่เริ่ม แต่ก็เริ่มเหนื่อยขึ้นเรื่อยๆในเส้นทางที่ทั้งคู่วิ่งได้อย่างสบาย การใช้เป้น้ำหนักเบาทำให้วิ่งไต่ได้เร็วในแบบที่ไม่เคยพบทั้งในการเดินเขาและไต่เขา ส่วนความรู้สึกเวียนหัวนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติของการวิ่งอยู่แล้ว
“เราทำเวลาได้ด้วยการวิ่ง เพื่อจะได้เพลิดเพลินกับภูเขาได้หลายลูกซึ่งอาจต้องใช้เวลา 2 คืน 3 วันหากต้องไต่ขึ้นมา จะใช้เวลาแค่วันเดียวยังได้ด้วยการวิ่งเทรลที่มีให้สัมผัสครบ ทั้งทิวทัศน์อันงดงาม กลิ่นพืชและไม้ต่างๆ กลิ่นดิน เสียงนกร้องและเสียงลมพัด มีหลายสิ่งบนภูเขานี้ที่จะหาไม่ได้ในเมือง ฉันคิดว่าแต่ละสิ่งที่พูดมานี้ถูกรวบเข้ามาในเวลาสั้นๆ ซึ่งเป็นวิธีที่แตกต่างอย่างชัดเจนในการชมธรรมชาติด้วยการวิ่งเทรลค่ะ”(นัทสึมิ ยามาอุชิ)
เป้ RUSH 12 ที่นักวิ่งสาวทั้งคู่ใช้นี้เป็นเป้ขนาดกลางที่สะพายแบบ Vest Wrap Concept ที่มีแต่เฉพาะในซีรีส์ของ RUSH เท่านั้น ด้วยสายสะพายบ่าที่เก็บของได้เหลือเฟือ กับส่วนของเป้หลังที่แนบกระชับจนรู้สึกเหมือน”สวมใส่”มากกว่า”แบกน้ำหนัก” ปริมาตร 12 ลิตรของเป้นั้นเพียงพอสำหรับนำทั้งเสื้อผ้าสำรองและอาหารไปด้วยเท่าที่จำเป็น เป็นเป้ที่เรียกได้ว่า”ครบเครื่อง”สำหรับการวิ่งได้ตลอดทั้งวัน คล่องตัว เหมาะสำหรับผู้ที่จะมาสนุกกับการวิ่งเทรลเป็นครั้งแรก
11.55 ช่องเขาโอโตเมะ
หยุดพักผ่อนที่ช่องเขาโอโตเมะเพื่อกินมื้อกลางวัน การใช้อาหารที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มพลังงานนั้นเหมาะกว่าอาหารที่อยากกินเพราะอร่อย การมีพลังงานเพื่อวิ่งจะทำให้วิ่งได้สนุกยิ่งขึ้น
“การวิ่งใช้พลังงานมากจึงต้องกินข้าวเป็นหลัก ฉันชอบกินและจะอ้วนง่ายมากจึงรู้สึกเหมือนตัวเองจะอ้วนอยู่ตลอด ต้องขอบคุณการวิ่งเทรลนี้(หัวเราะ) เพราะมันทำให้กินของอร่อยได้มากโดยไม่รู้สึกผิด รู้สึกอร่อยมากกว่าที่เคยกินตามปกติ ตรงนี้แหละที่รู้สึกได้ว่าการวิ่งนี่มันดีจริงๆค่ะ(นัทสึมิ ยามาอุชิ)
การวิ่งขึ้นเขาลูกสุดท้ายของนักวิ่งทั้งคู่คืออาชิงาระ ทั้งสองวิ่ง แต่ถ้าจะเดินก็ได้หากวิ่งแล้วเหนื่อยเกิน หรือจะเดินให้เร็วขึ้นแทนการวิ่งก็ได้
“ฉันเคยคิดว่าต้องวิ่งเพราะฉันเป็นนักวิ่งเทรล แต่จะเดินก็ได้นะถ้าอยากเดิน ความเร็วของแต่ละคนแตกต่างกันค่ะ ถ้าคนที่มาวิ่งด้วยยังแข็งแรงน้อยกว่าก็ต้องช่วยเหลือกัน การวิ่งเทรลก็คือการสู้กับภูเขาในทำนองเดียวกันการไต่เขานั่นแหละ ที่สำคัญที่สุดคือต้องจบให้ได้อย่างปลอดภัยค่ะ”(ชิโอริ ซูซุกิ)
ช่วงที่ 4 : อาชิงาระ- วิ่งกลับลงสู่คินโตกิ โตซันกุชิ
12.59: ภูเขาอาชิงาระ
ไต่ขึ้นสู่สันเขาอาชิงาระ(1212 เมตร)ที่สูงที่สุดของการวิ่งครั้งนี้ เราหยุดที่คินทาโระ ชายะแล้วกินข้าวราดแกงกะหรี่มาสะ อุด้งกันประมาณ 40 นาที แล้ววิ่งกลับลงสู่จุดเริ่มต้นจากจุดนี้
14.29 คินโตกิ โตซันกุชิ
วิ่งขาลงสู่โตซันกุชิและสิ้นสุดการวิ่งเทรลที่ฮาโกเนะ โซโตวายามะ
หลังจากวิ่งลงเขามาเติมน้ำตาลกันที่ร้านกาแฟแถวนั้น การได้ออกกำลังมาทำให้อาหารว่างยิ่งอร่อยขึ้นอีก หนึ่งในสิ่งดีๆที่ฮาโกเนะคือมีร้านกาแฟและร้านของหวานมากมายให้ลิ้มลองทันทีที่ออกจากเมืองมา เส้นทางที่โซโตวายามะครั้งนี้ไม่ยากนักเมื่อคำนึงถึงระยะทางซึ่งพอจะเพลิดเพลินกับทิวทัศน์อันงดงามได้ มีหลายสิ่งให้เห็นทั้งป่าเขาและรู้สึกว่าได้ทำบางสิ่งสำเร็จไปแล้วในการวิ่งไต่ขึ้นไป โดยเฉพาะสันเขาโซโตวายามะนั้นถือว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับคนชอบวิ่งขึ้นเขา
แต่ก็มีอีกหลายจุดในภูเขาแถบนั้นที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างเหนือความคาดหมาย จึงต้องตรวจสอบการพยากรณ์อากาศให้ดี เตรียมของติดตัวไปให้พร้อม แน่นอนว่าในฤดูร้อนนั้นต้องระวังเรื่องความร้อนไว้ด้วย อย่าลืมหาเครื่องป้องกันแสงแดดและความชื้น โดยเฉพาะการมีนักเดินเขามากมายในเส้นทางรอบๆภูเขาอาชิงาระ ต้องระวังเสมอเมื่อเดินสวนกันในเส้นทางอันคับแคบ
สุดท้ายนี้คือสิ่งที่นักวิ่งทั้งสองอยากจะกล่าวถึง
“ฉันวิ่งที่โซโตวะนี่อย่างสบายมากๆเพราะมองเห็นแนวสันเขาและจุดหมายข้างหน้าชัด เมื่อมองกลับไปก็เห็นถนนตรงที่วิ่งจากมาแล้วรู้สึกได้ถึงความสำเร็จ มีวิวสวยๆหลายจุดอย่างเช่นภูเขาไฟฟูจิและทะเลสาบอาชิ เข้าใจว่าตรงนี้คงเป็นเส้นทางยอดนิยมเพราะมันดี วิ่งง่าย ครั้งนี้ฉันอยากวางเส้นทางให้มีจุดน่าสนใจอยู่ด้วยอย่างเช่นฮาโกเนะ ยูโมโตะ, โมโตฮาโกเนะ และโอวากุดานิ เมื่อมาวิ่งบนภูเขาค่ะ”(ชิโอริ ซูซุกิ)
“จุดที่น่าสนใจของเส้นทางนี้คือมีที่สวยๆหลายที่แม้จะมีระยะแค่ 20 กิโลเมตรนิดๆ มีหญ้าญี่ปุ่นเขียวขจีให้ดูเต็มท้องทุ่ง(จะดีกว่านี้หากจะมาในฤดูใบไม้ร่วง) มีป่าเขียวตลอดเส้นลำธารในหมู่บ้าน มีทะเลสาบอาชิที่สวยงามและบ้านพักบนภูเขาสวยๆบนเขาอาชิงาระ ดีเหลือเกินที่ได้กินข้าวอร่อยๆ ได้วิ่งในเส้นทางที่มีไม้เขียวครึ้มค่ะ ครั้งนี้เป็นเส้นทางที่ต้องวิ่งขึ้นจากด้านของทะเลสาบอาชิ ฉันจึงต้องมองกลับไปถึงจะเห็นมัน ครั้งต่อไปอยากจะวิ่งรอบๆในเส้นทางกลับกันบ้าง มั่นใจเลยค่ะว่าคุณต้องประทับใจกับทะเลสาบอาชิแน่ๆจากเมฆหมอกจางๆที่ลอยอยู่เหนือผืนน้ำ และเพราะมีเมฆบังอีกเหมือนกันเลยทำให้มองไม่ค่อยเห็นภูเขาฟูจิเท่าไร อยากจะกลับไปแก้มืออีกครั้งจังเลยค่ะ”(นัทสึมิ ยามาอุชิ)
RUSH 12 เป้สำหรับนักวิ่ง
สุดท้ายนี้ เราใคร่จะแนะนำเป้ RUSH 12 อย่างละเอียด เช่นที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่าเป็นรุ่นความคล่องตัวสูง เป็นที่นิยมของแบ็คแพ็คเกอร์และนักวิ่งเทรลมือใหม่ ยังอีกหลายรุ่นสำหรับการวิ่งเทรลทางไกลและการแข่งขันซึ่งบรรจุสัมภาระได้มาก ถึงจะมีเพียงขนาดเดียวแต่ก็ปรับสายสะพายได้มาก แม้แต่สุภาพสตรีตัวเล็กๆก็ใช้ได้ง่าย
ที่สายสะพายมีกระเป๋าเสริมสองใบทั้งบนและล่าง ให้บรรจุของชิ้นใหญ่อย่างขวดน้ำไว้ด้านนอก ใส่ของเล็กๆอย่างแว่นกันแดดและอาหารเสริมพลังงานไว้ด้านใน จุดเด่นคือที่ช่องสัมภาระนอกเป้มีสายยางยืดไว้รัดขวดน้ำไม่ให้หลุดร่วง
ส่วนบรรจุสัมภาระของเป้นั้นเปิด/ปิดด้วยซิปจากด้านบน มีช่องแยกย่อยบรรจุสิ่งของภายใน สะดวกสำหรับการบรรจุของมีค่าไว้ กระเป๋ารูดซิปเปิดแนวดิ่งอยู่ด้านหน้าให้ใช้บรรจุของใช้สำคัญที่จะใช้เร่งด่วน เช่นอาหารเพิ่มพลังงาน
ช่องบรรจุสัมภาระก้นเป้ ล้วงหยิบของได้แม้เมื่อยังสวมเป้นั้นอยู่ สะดวกต่อการเก็บเสื้อกันลมกันฝนและถุงมือ สายยางยืดใช้รัดของทางด้านหน้าเป้ เหมาะสำหรับรัดของที่ไม่สามารถเก็บไว้ในเป้ได้เช่นเสื้อแจ็คเก็ต
ความคิดเห็นจากซูซุกิและยามาอุชิ
“กระเป๋าย่อยใช้งานได้สะดวกมากค่ะ ช่องใส่ขวดตรงไหล่นั่นใส่ขวดน้ำดื่มกับสมาร์ทโฟนได้ ส่วนกระเป๋าย่อยก้นเป้นั่นก็มีประโยชน์เพราะใช้เก็บเสื้อกันลมกันฝนได้ ตัวเป้ยืดได้ดี จึงแนบลำตัวไประหว่างวิ่งไม่ฟาดไปมา มีตาข่ายนุ่มๆระบายอากาศตรงไหล่ให้สบายตัวตลอดเวลายาวนานของการวิ่ง ตรงที่เอาไว้ใส่ชุดอุปกรณ์อาบน้ำกับที่ใช้งานในฤดูหนาวนั่นก็ดีเหมือนกันค่ะ”(ซูซุกิ)
“ก่อนจะมาใช้ RUSH ฉันมีปัญหากับการวิ่งมากเพราะหาเป้ที่เข้ากับตัวไม่ได้ พอเข้ามาวิ่งเทรลในปี 2019 ก็มีคนแนะนำให้ใช้ RUSH 5R แล้วพอใช้มันฉันก็ติดหนึบ ใช้ตลอดทั้งตอนแข่งและซ้อมเหมือนกับ RUSH 12 ที่ใช้อยู่ตอนนี้ค่ะ ตัวเป้ยืดได้ทำให้จุของได้มากแล้วก็แนบไปกับลำตัวด้วย ไม่แกว่งไปมาตอนวิ่ง ทำให้วิ่งได้สนุกมากๆค่ะ”(ยามาอุชิ)